
สาร (Substance)
สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราจัดเป็น สสาร (Matter) ซึ่งหมายถึง สิ่งที่มีมวลสัมผัสได้โดยใช้ประสาทสัมผัส เช่น น้ำ ดิน อากาศ หิน ไม้ ทราย แป้ง เป็นต้น ส่วน สาร หมายถึง เนื้อของสสารที่นำมาศึกษาหรือสิ่งที่นำมาศึกษา ดังนั้นจึงใช้คำว่าสารแทนสสารได้
สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราจัดเป็น สสาร (Matter) ซึ่งหมายถึง สิ่งที่มีมวลสัมผัสได้โดยใช้ประสาทสัมผัส เช่น น้ำ ดิน อากาศ หิน ไม้ ทราย แป้ง เป็นต้น ส่วน สาร หมายถึง เนื้อของสสารที่นำมาศึกษาหรือสิ่งที่นำมาศึกษา ดังนั้นจึงใช้คำว่าสารแทนสสารได้
สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของสารแต่ละชนิดที่สามารถบ่งบอกว่าสารชนิดนั้นคืออะไร ซึ่งสารแต่ละชนิดจะมีสมบัติของสารที่สังเกตเห็นได้หลายประการ เช่น สี กลิ่น รส สถานะ เนื้อสาร แต่สมบัติบางประการของสารต้องใช้เครื่องมือในการสังเกตจึงจะทราบ เช่นความ สามารถในการนำไฟฟ้า ความสามารถในการละลาย ความเป็นกรด - เบส จุดหลอมเหลว จุดเดือด ความหนาแน่น เป็นต้น เมื่อสรแต่ละชนิดมีสมบัติหลายประการ ดังนั้นสมบัติบางประการของสารชนิดหนึ่งอาจเหมือนกับสารอีกชนิดอื่นก็ได้ แต่จะมีสมบัติบางประการที่เป็นสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างจากสารอื่น เช่น น้ำเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดเดือด 100 องศาเซลเซียส
เอทานอลเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน มีจุดเดือด 78.5 องศาเซลเซียส ดังนั้นสมบัติเฉพาะตัวของเอทานอลที่แตกต่างจากน้ำ คือ มีกลิ่นฉุน และมีจุดเดือดที่แตกต่างกัน
สมบัติของสารจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 สมบัติทางกายภาพ (Physical Properties)
สมบัติทางกายภาพเป็นสมบัติที่สังเกตได้จากลักษณะภายนอกหรือใช้เครื่องมือง่ายๆ ในการสังเกต ซึ่งเป็นสมบัติที่ไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี เช่น สี กลิ่น รส สถานะ ลักษณะของรูปผลึก ความหนาแน่น การนำไฟฟ้า การละลาย จุดหลอมเหลว จุดเดือด
2.2 สมบัติทางเคมี (Chemical Properties)
สมบัติทางเคมีเป็นสมบัติที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างภายในของสาร เป็นสมบัติที่สังเกตได้เมื่อมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น เช่น ความเป็นกรด - เบส การเกิดสนิม ความเป็นโลหะ ความเป็นอโลหะ เป็นต้น
เอทานอลเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน มีจุดเดือด 78.5 องศาเซลเซียส ดังนั้นสมบัติเฉพาะตัวของเอทานอลที่แตกต่างจากน้ำ คือ มีกลิ่นฉุน และมีจุดเดือดที่แตกต่างกัน
สมบัติของสารจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 สมบัติทางกายภาพ (Physical Properties)
สมบัติทางกายภาพเป็นสมบัติที่สังเกตได้จากลักษณะภายนอกหรือใช้เครื่องมือง่ายๆ ในการสังเกต ซึ่งเป็นสมบัติที่ไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี เช่น สี กลิ่น รส สถานะ ลักษณะของรูปผลึก ความหนาแน่น การนำไฟฟ้า การละลาย จุดหลอมเหลว จุดเดือด
2.2 สมบัติทางเคมี (Chemical Properties)
สมบัติทางเคมีเป็นสมบัติที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างภายในของสาร เป็นสมบัติที่สังเกตได้เมื่อมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น เช่น ความเป็นกรด - เบส การเกิดสนิม ความเป็นโลหะ ความเป็นอโลหะ เป็นต้น
การจำแนกสารเป็นหมวดหมู่
สารรอบตัวเรามีจำนวนมากมาย จึงต้องมีการจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการศึกษา ดังนั้นเราจึงจัดหมวดหมู่ของสารโดยใช้เกณฑ์ดังนี้ คือ
1. ใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์
การใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดจำแนกได้เป็น 3 สถานะ ดังนี้
1. ของแข็ง รูปร่างไม่เปลี่ยนแปลง อนุภาคของของแข็งไม่มีการเคลื่อนที่ และอัดให้เล็กลงอีกไม่ได้
2. ของเหลว รูปร่างเปลี่ยนตามภาชนะที่บรรจุ โดยมีปริมาตรคงที่ ไหลได้ อัดให้เล็กลงได้ยาก
3. แก๊ส รูปร่างและปริมาตรเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ ฟุ้งกระจายได้ อัดให้เล็กลงได้ง่าย
2. ใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์
การแยกสารวิธีนี้พิจารณาจากลักษณะของเนื้อสาร ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
1. สารเนื้อเดียว ประกอบด้วย
- สารบริสุทธิ์ ได้แก่ ธาตุ และสารประกอบ
- สารไม่บริสุทธิ์ ได้แก่ สารละลาย และคอลลอยด์
2. สารเนื้อผสม ประกอบด้วย สารแขวนลอย
สารรอบตัวเรามีจำนวนมากมาย จึงต้องมีการจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการศึกษา ดังนั้นเราจึงจัดหมวดหมู่ของสารโดยใช้เกณฑ์ดังนี้ คือ
1. ใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์
การใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดจำแนกได้เป็น 3 สถานะ ดังนี้
1. ของแข็ง รูปร่างไม่เปลี่ยนแปลง อนุภาคของของแข็งไม่มีการเคลื่อนที่ และอัดให้เล็กลงอีกไม่ได้
2. ของเหลว รูปร่างเปลี่ยนตามภาชนะที่บรรจุ โดยมีปริมาตรคงที่ ไหลได้ อัดให้เล็กลงได้ยาก
3. แก๊ส รูปร่างและปริมาตรเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ ฟุ้งกระจายได้ อัดให้เล็กลงได้ง่าย
2. ใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์
การแยกสารวิธีนี้พิจารณาจากลักษณะของเนื้อสาร ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
1. สารเนื้อเดียว ประกอบด้วย
- สารบริสุทธิ์ ได้แก่ ธาตุ และสารประกอบ
- สารไม่บริสุทธิ์ ได้แก่ สารละลาย และคอลลอยด์